top of page
รูปภาพนักเขียนGeneral Power Mechanic Website admin

"การเลือกใช้เบรคไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์"

สำหรับหัวข้อในวันนี้พวกเรา GPM ขอนำเสนอการอุปกรณ์อีกชนิดที่มักใช้งานคู่กับมอเตอร์ นั่นก็คือเบรค นั่นเอง โดยในวันนี้เราจะนำเสนอการทำงานและวิธีการเลือกเบรคไฟฟ้าสำหรับจับคู่กับมอเตอร์ ใช้งานยังไง เลือกแบบไหน ให้เหมาะกับงานของคุณ เราไปรับชมกันเลยครับ


เบรคไฟฟ้า (electromagnetic brake) คืออะไร ???

เบรคไฟฟ้า หรือ electromagnetic brake คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชะลอความเร็วหรือหยุดการหมุนของชิ้นงาน อาศัยหลักการทำงานโดยการจ่ายไฟเข้าไปยังขดลวดของเบรค (Coil) เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กนี้จะเกิดแรงดูดระหว่าง Brake Magnet และ Armature plate

โดยในชิ้นส่วนของ Brake magnet จะมีผ้าเบรคที่ให้แรงเสียดทาน(Friction material) เมื่อ Armature plate ถูกแรงแม่เหล็กดูดลงมาประกบจะทำให้เกิดการล็อคเป็นการหยุดการหมุนของชิ้นงาน

รูปตัวอย่างการทำงานของเบรค


รูปแบบการทำงานของเบรค(NC/NO)

รูปแบบการทำงานของเบรคจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ ปกติปิด หรือ Normally Close และแบบปกติเปิดหรือ Normally Open โดยมีความเหมาะสมกับการใช้งานต่างกันออกไป


เบรคแบบ NC


เบรคแบบ NC หรือเรียกอีกอย่างว่า Fail safe brake จะเป็นเบรคที่จะมีการล็อคตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสภาวะไม่มีไฟเลี้ยง และจะปลดล็อคก็ต่อเมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปยังขดลวด เบรคลักษณะนี้ถ้าต้องการให้ต้นกำลังทำงานเป็นระยะเวลานานๆ จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี้ยงตัวเบรคไว้ตลอดเวลาเพื่อให้อยู่ในสภาวะปลดล็อค ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่ตัวอุปกรณ์ ดังนั้นอุปกรณ์นี้จึงเหมาะกับงานที่มีการเดินต้นกำลังเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรืองานที่ต้องการให้ล็อคต้นกำลังเมื่อดับไฟ


เบรคแบบ NO


เบรคแบบ NO เป็นเบรคประเภทที่อยู่ในสภาวะปลดล็อคเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และ เมื่อทำการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าไปยัง coil จะเกิดสภาวะล็อค เบรคลักษณะนี้จะจ่ายไฟก็ต่อเมื่อต้องการให้ต้นกำลังถูกหยุดไม่จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี้ยงเบรคไว้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่มีการเดินต้นกำลังเป็นระยะเวลานาน และงานที่ไม่จำเป็นต้องล็อคต้นกำลังเมื่อดับไฟ


ชุดเบรคและคลัช

เป็นชุดอุปกรณ์ที่มีเบรคและคลัชในตัว โดยชุดเบรคจะเป็นแบบ NO อุปกรณ์ชิ้นนี้จะเหมาะสมกับงานที่ต้องการเบรคชิ้นงานโดยไม่ต้องการหยุดต้นกำลัง โดยเมื่ออยู่ในสภาวะต้องการให้ชิ้นงานทำงาน คลัชจะจับทำให้ต้นกำลังสามารถขับชิ้นงานได้ และเมื่อต้องการให้ชิ้นงานหยุดการทำงาน คลัชจะปล่อย ทำให้ต้นกำลังอยู่ในสภาวะตัดขาดจากชิ้นงาน และเบรคจะอยู่ในสภาวะล็อคเพื่อหยุดชิ้นงาน โดยเมื่อต้องการให้กลับมาทำงาน เบรคจะปลดล็อค และคลัชจะอยู่ในสภาวะจับกับต้นกำลัง เพื่อขับชิ้นงานตามเดิม อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยลดปัญหาการกินกระแสเมื่อมีการสตาร์ทมอเตอร์ได้

ตัวอย่างการประกอบเข้ากับมอเตอร์


รูปแบบการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าเบรคไฟฟ้า(AC/DC)

Electromagnetic Brake มีทั้งรูปแบบทำงานโดยใช้ไฟ AC และ DC โดยหากเป็นเบรค AC

ผู้ใช้งานสามารถต่อไปเลี้ยง 380VAC เข้าที่เบรคได้เลย แต่หากเป็นเบรค DC ผู้ใช้งานจำเป็นต้องต่อเบรคผ่านอุปกรณ์ Rectifier ก่อน โดย rectifier (ตัวจัดเรียงกระแส) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง

ภาพตัวอย่างอุปกรณ์ Rectifier


โดยเมื่อใช้งาน ผู้ใช้งานต้องเลือก Rectifier โดยอ้างอิงจาก รุ่นของเบรค (24VDC,90VDC,190VDC) และแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายในพื้นที่ใช้งาน (220VAC,380VAC)


การเลือกขนาดของเบรคสำหรับใช้งาน

ในการเลือกเลือกขนาดเบรคสำหรับใช้งานติดกับมอเตอร์นั้นให้คำนึงปัจจัยสำคัญ

คือ แรงบิดของมอเตอร์ (Torque) โดยแรงบิดของมอเตอร์ให้อ้างอิงจากตารางแสดงรายละเอียดของมอเตอร์ Induction เพราะตัวเบรคจะทำหน้าที่ล็อคเพลาของมอเตอร์จากด้านท้ายของมอเตอร์ เมื่อทราบค่าแรงบิดของมอเตอร์แล้วให้นำ Load ทั้งหมด คูณด้วย 2-3 เพื่อเป็น Safety factor

ตัวอย่างตารางแสดงการเลือกขนาดของเบรค โดยเปรียบเทียบกับ ขนาดกำลังของมอเตอร์และความเร็วรอบการหมุนของมอเตอร์


ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ???

เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงมีความเข้าใจในการเลือกซื้อเบรคมากขึ้น โดยท่านผู้อ่านสามารถเลือกพิจารณา สเปคสินค้าของเบรคได้ผ่านหน้าเวปไซต์นี้ได้เลย โดยสินค้าประเภทเบรคไฟฟ้าที่ทางพวกเราบริษัทเยนเนอรัลฯ นำเข้ามาจัดจำหน่าย เป็นของแบรนด์ Trantex ผู้ผลิตคลัชและเบรคคุณภาพดีจากประเทศไต้หวัน


 ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง Inbox เข้ามาหาพวกเราได้เลยครับ หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา  

                           "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

ดู 95 ครั้ง
bottom of page