ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้นำเสนอ รายละเอียดและความหมายบนป้ายเนมเพลทของมอเตอร์ แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ซึ่งพวกเราไม่ได้เขียนไว้ในบทความก่อน เพราะเกรงว่าบทความจะมีรายละเอียดที่มากเกินไป ในวันนี้พวกเรา GPM ขอมานำเสนอรายละเอียดของมอเตอร์ในหัวข้อของ IE Class , IP Code และ Ins Class ซึ่งเป็นอีก 1 ปัจจัยที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้งานมอเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลักษณะหน้างานของคุณ หากพร้อมแล้ว พวกเรา GPM ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ IE Class , IP Code และ Ins Class ไปด้วยกันครับ
IE Class คืออะไร ???
IE Class คือ ระดับประสิทธิภาพของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC โดยคำนวณจาก อัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าต่อกำลังขับมอเตอร์ โดยยิ่งมอเตอร์มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีการสูญเสียพลังงานน้อยลง นั่นหมายความว่า ยิ่งมอเตอร์มีระดับ IE Class สูง ก็จะยิ่งประหยัดไฟ ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟลดลงนั่นเอง

หากพิจารณาตามกราฟข้างต้นจะพบว่า class ที่สูงขึ้นของมอเตอร์จะส่งผลต่อ efficiency อย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการใช้พลังงานไฟฟ้า และต้นทุนของค่าไฟอีกด้วย
IE1
คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับมาตรฐานสากล โดยผลิตขึ้นตามมารตรฐาน IEC นับเป็น class ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในอุตสาหกรรม
IE2
คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับสูง ตามมาตรฐาน IEC หรือ อาจเรียกว่า มอเตอร์ประหยัดพลังงาน นิยมใช้งานที่มีการเดินเครื่องจักรต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะใช้พลังงานน้อยกว่า มอเตอร์ IE1
IE3
คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับพรีเมียม ซึ่งมี efficiency สูงมากกว่า IE1 และ IE2 มักใช้ในงานในลักษณะดูแลสิ่งแวดล้อม อาทิ โรงบำบัดน้ำเสีย
IE4
คือ มอเตอร์ระดับประสิทธิภาพสูงสุด ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้าสูง หรือ ต้องเดินเครื่องเป็นระยะเวลานาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีราคาที่สูงกว่า และ หาได้ยากกว่ามอเตอร์ IE3
IE5
ถือเป็นระดับสูงสุดในปัจจุบันของมาตรฐานประสิทธิภาพ โดย efficiency สูงที่สุด และ ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด
IP Code คืออะไร ???
IP Code ย่อมาจาก Ingress Protection code ซึ่งก็คือ มาตรฐานระดับการป้องกันฝุ่นและละอองน้ำของเครื่องจักร โดย Code จะระบุโดยตัวเลข 2 หลัง โดย หลักแรกคือระดับการป้องกันของแข็ง มีตั้งแต่ 0-6 ระดับ และ หลักที่สอง จะบอกถึงการป้องกันของเหลวโดยมีตั้งแต่ 0-9 ระดับ

ระดับการป้องกันของแข็งตั้งแต่ ระดับ 0-6 จะแสดงรายระเอียดดังตารางต่อไปนี้
Solid Protection Rating
Code | Description |
0 | ไม่มีการป้องกัน |
1 | ป้องกันของแข็งขนาดตั้งแต่ 50 mm ขึ้นไป |
2 | ป้องกันของแข็งขนาดตั้งแต่ 12 mm ขึ้นไป |
3 | ป้องกันของแข็งขนาดตั้งแต่ 2.5 mm ขึ้นไป |
4 | ป้องกันของแข็งขนาดตั้งแต่ 1 mm ขึ้นไป |
5 | ป้องกันฝุ่นได้ หากมีฝุ่นเล็ดลอดเข้าไปจะไม่ส่งผลต่ออุปกรณ์ |
6 | ป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ |
ระดับการป้องกันของเหลวตั้งแต่ระดับ 0-9 จะแสดงรายละเอียดตามตารางดังนี้
Liquid Protection Rating
Code | Description |
0 | ไม่มีการป้องกัน |
1 | ป้องกันของเหลวที่ตกกระทบกับอุปกรณ์ในแนวตั้ง |
2 | ป้องกันของเหลวที่ตกกระทบกับอุปกรณ์ในแนวเฉียงทำมุมสูงสุด 15 องศา |
3 | ป้องกันของเหลวที่ตกกระทบกับอุปกรณ์ในแนวเฉียงทำมุมสูงสุด 60 องศา |
4 | ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบกับอุปกรณ์ในทุกทิศทาง |
5 | ป้องกันการฉีดน้ำใส่ตัวอุปกรณ์ในทุกทิศทาง |
6 | ป้องกันการฉีดน้ำแบบรุนแรงใส่ตัวอุปกรณ์ในทุกทิศทาง |
6K | ป้องกันการฉีดน้ำด้วยแรงดันสูงใส่ตัวอุปกรณ์ในทุกทิศทาง |
7 | ป้องกันการซึมของน้ำจากการแช่อุปกรณ์ในน้ำความลึกไม่เกิน 1 เมตร ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที |
8 | ป้องกันการซึมของน้ำจากการแช่อุปกรณ์ในน้ำได้อย่างถาวร |
9 | ป้องกันการฉีดน้ำด้วยแรงดันสูงพิเศษใส่ตัวอุปกรณ์ในทุกทิศทาง ด้วยอุณหภูมิน้ำไม่เกิน 80 องศา |
Ins Class คืออะไร ???
Ins Class ย่อมาจาก Insulation Class หรือก็คือ ระดับฉนวนกันความร้อนของมอเตอร์ โดยจะบ่งบอกถึงค่าอุณหภูมิที่แผ่นฉนวนกันความร้อนที่ขั่นระหว่างขดลวดของมอเตอร์สามารถทนได้ โดยมีทั้งหมด 7 ระดับดังนี้
Class | Insulation Temperature | Description |
Y | 90 C | เป็นฉนวนที่สามารถทดอุณหภูมิได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส |
A | 105 C | เป็นฉนวนประเภทเทปผ้าฝ้าย ไหม ไฟเบอร์ กระดาษ อาบวานิช หรือจุ่มในน้ำมัน ตัวอย่าง ผ้าอาบวานิช เบคาไลท์ ซึ่งฉนวนประเภทนี้จะทนอุณหภูมิสูงสุด 105 องศาเซลเซียส |
E | 120 C | เป็นฉนวนประเภทไมการ์ ใยแก้ว ใยหิน ใช้ร่วมกับวัตถุเกาะยึดเช่น อีพอคซี่เป็นต้น โดยฉนวนที่ทำจากวัสดุพวกนี้ สามารถทนอุณหภูมิได้ถึง ถึง 130 องศาเซลเซียส |
B | 130 C | เป็นฉนวนประเภท ไมการ์ ใยแก้ว ใยหิน ใช้ร่วมกับวัตถุเกาะยึดเช่น อีพอคซี่เป็นต้น โดยฉนวนที่ทำจากวัสดุพวกนี้ สามารถทนอุณหภูมิได้ถึง ถึง 130 องศาเซลเซียส |
F | 155 C | เป็นฉนวนประเภท ไมการ์ ใยแก้ว ใยหิน ใช้ร่วมกับวัตถุเกาะยึดเช่น ซิลิโคน ใยแก้วอาบวานิช วานิชใยหิน โพลีเอไมด์ สามารถทนอุณหภูมิได้ถึง ถึง 155องศาเซลเซียส |
H | 180 C | เป็นฉนวนประเภท ซิลิโคนอิลาสโดเมอร์ไมการ์ ใยแก้ว ใช้รวมกับวัตถุเกาะยึด เช่น ซิลิโคนเรซิน และ Polytetrafluorethylene(PTEE) ซึ้งสามารถทนอุณหภูมิได้ถึง ถึง 180 องศาเซลเซียส |
C | >180C | เป็นฉนวนไมการ์ หรือ Poreeclain หรือ Glass หรือ ผลึกควอทซ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง นิยมใช้ทำเป็นลูกถ้วยเพราะมีความแข็งแรงทางกลดีกว่าฉนวนประเภทอื่น |
ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ???
เชื่อว่าเมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วคงช่วยให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจในระดับของ class ต่างๆ ของมอเตอร์ได้ดีขึ้น เมื่อต้องดำเนินการสั่งซื้อ ให้พิจารณาถึงลักษณะงานและสภาพแวดล้อมหน้างาน โดยพิจารณาระดับของ IE Class ,IP Code และ Ins Class ตามรายละเอียดข้างต้น

ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง Inbox เข้ามาหาพวกเราได้เลยครับ หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา
"ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"