top of page

พบ 7 ผลลัพธ์เมื่อไม่ระบุค่าการค้นหา

  • "มอเตอร์เหล็กหล่อ vs มอเตอร์อลูมิเนียม เลือกใช้แบบไหน ให้เหมาะกับงานของคุณ"

    ในการเลือกใช้มอเตอร์นั้น อีกปัจจัยสำคัญที่ควรจะต้องพิจารณาร่วมด้วยก็คือ วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างของมอเตอร์ หรือที่พวกเราเรียกกันว่า เฟรมมอเตอร์ หรือ ตัวเสื้อมอเตอร์ พวกเรา GPM ขอพาทุกท่านไปพิจารณาถึงคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้ทำตัวเสื้อมอเตอร์ เพื่อให้ได้เห็นว่าตัวเสื้อแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และเลือกใช้งานแบบไหนถึงจะตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ตัวเสื้อมอเตอร์ ถูกผลิตออกมา 3 แบบ ได้ แก่ ตัวเสื้อเหล็กหล่อ, ตัวเสื้ออลูมิเนียม และ ตัวเสื้อแบบเหล็กม้วน ซึ่งแบบเหล็กม้วนนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากระบายความร้อนได้ไม่ดี ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่ราคาถูก ในบทความนี้ จะขอกล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของโครงสร้างแบบ เหล็กหล่อ และ อลูมิเนียม ซึ่งตัวเสื้อมอเตอร์ทั้ง 2 แบบนี้ เป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมไทย มอเตอร์เหล็กหล่อ(Cast Iron) มอเตอร์แบบเหล็กหล่อ มีจุดเด่นคือ ความแข็งแรง และความทนทาน ด้วยคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก ที่มีความแข็ง ทำให้มีจุดเด่นในการรับแรงกระแทก หรือใช้งานในสภาวะที่มี load หนักได้นาน มอเตอร์เหล็กหล่อมีความทนทานมาก และสามารถทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี ข้อเสียของมอเตอร์เหล็กหล่อคือ มีน้ำหนักสูง ด้วยความหนาแน่นของเหล็กที่มีมาก จึงส่งผลให้มอเตอร์เหล็กหล่อมีน้ำหนักมากไปด้วย ซึ่งเป็นปัญหาในการติดตั้งอุปกรณ์บนพื้นที่สูง หรือในบริเวณที่ยกอุปกรณ์เข้าไปได้ยาก นอกจากนี้แล้วมอเตอร์เหล็กหล่อยังมีเสียงที่ดังเวลาทำงาน และ ระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่ามอเตอร์อลูมิเนียม มอเตอร์อลูมิเนียม(Aluminum) มอเตอร์แบบอลูมิเนียม มีจุดเด่นที่ น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะกับการติดตั้งในทุกพื้นที่ วัสดุอลูมิเนียมมีอัตรายืดตัวได้สูงกว่าเหล็ก และมีผิวที่สวยงามกว่า ไม่เป็นสนิม อีกจุดเด่นของมอเตอร์อลูมิเนียมคือมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่ดีกว่ามอเตอร์เหล็กหล่อ และมีเสียงที่เบาในเวลาทำงาน และเมื่อใช้เลิกใช้งานแล้ว ตัวเสื้ออลูมิเนียมยังสามารถนำไปหลอมเพื่อแปรรูป นำกลับมา Recycle ได้ ข้อเสียของมอเตอร์อลูมิเนียมคือ มีความแข็งแรงน้อยกว่ามอเตอร์เหล็กหล่อ และไม่ทนทานต่อกรดบางชนิด ทำให้โดยรวมแล้วความทนทานจึงด้อยกว่ามอเตอร์เหล็กหล่อ ข้อสังเกตุอีกจุดคือ มอเตอร์ที่ขนาดใหญ่มากกว่า 10 HP จะมีแต่มอเตอร์แบบเหล็กหล่อ ด้วยเหตุผลเรื่องความทนทาน และการรับ load ที่หนัก สรุปข้อดีข้อเสียระหว่างมอเตอร์เหล็กหล่อและมอเตอร์อลูมิเนียม จากบทความข้างต้นสามารถสรุปข้อดีและข้อเสียระหว่างมอเตอร์ทั้ง 2 แบบเป็นได้ดังนี้ ความแข็งแรง : มอเตอร์เหล็กหล่อ>มอเตอร์อลูมิเนียม ความทนทาน : มอเตอร์เหล็กหล่อ>มอเตอร์อลูมิเนียม ความสะดวกในการขนย้าย : มอเตอร์เหล็กหล่อ<มอเตอร์อลูมิเนียม ความสวยงามของผิว : มอเตอร์เหล็กหล่อ<มอเตอร์อลูมิเนียม ประสิทธิภาพในการระบายความร้อน : มอเตอร์เหล็กหล่อ<มอเตอร์อลูมิเนียม ในแง่ของประสิทธิภาพทางไฟฟ้าของมอเตอร์ทั้ง 2 แบบนั้นไม่ต่างกัน ดังนั้นในการเลือกมอเตอร์สำหรับนำไปใช้งาน สามารถพิจารณาวัสดุที่นำมาทำตัวเสื้อได้ตามปัจจัยหลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1. Load งาน 2.ความสะดวกของพื้นที่ติดตั้ง 3. การระบายความร้อน ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ??? ทางบริษัท General Power Mechanic เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย มอเตอร์เกียร์ แบรนด์ MCN ซึ่งเป็นมอเตอร์เกียร์ที่มีทั้งแบบอลูมิเนียม และแบบเหล็กหล่อ โดยผู้ใช้งานสามารถพิจารณา รายละเอียดสินค้าได้จากหน้ารายการสินค้า หรือ กดดาวน์โหลด Catalog ได้เลย พวกเรา GPM พร้อมเป็นที่ปรึกษา ช่วยเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่า คุณจะได้รับสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแน่นอน หากมีความสนใจในสินค้า โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "ทำความรู้จักกับระบบเกียร์ Planetary drive, Harmonic drive, Cycloidal drive"

    เชื่อว่าท่านผู้อ่าน ทุกท่านคงเคยใช้เกียร์ทดรอบรูปแบบต่างๆมามากพอสมควร เกียร์รูปแบบที่พวกเราคุ้นเคยกันก็มักจะเป็น Helical Gear, Worm Gear หรือ Bevel Gear แต่ทุกท่านรู้หรือไม่ว่าปัจจุบันระบบเกียร์ส่งกำลัง มีเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อสร้างสมรรถนะในการใช้งานที่มากขึ้น ทั้งในด้านของ การเพิ่มความแม่นยำ การให้แรงบิดที่มากขึ้น หรือ การเพิ่มความทนทาน ในวันนี้พวกเรา GPM ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับระบบส่งกำลังที่เป็นที่นิยม อย่าง ระบบ Planetary drive, Harmonic drive และ Cycloidal drive แต่ละระบบมีรูปแบบการทำงานต่างกันอย่างไร เชิญทุกท่านรับชมไปพร้อมๆกันได้เลยครับ Planetary drive คืออะไร ??? Planetary drive หรือ เรียกอีกชื่อว่า เกียร์ระบบดาวเคราะห์ เป็นเกียร์ที่ทำงานโดยมี Planet gear หรือเกียร์บริวาร หมุนรอบ Sun Gear และยังหมุนรอบตัวเองไปด้วย ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะเดียวกันกับดาวโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงเป็นที่มาของชื่อ planetary ส่วนประกอบหลักของชุด Planetary drive มีอยู่ทั้งหมด 4 ส่วนได้แก่ Sun gear, Planet gear, Planet Carrier, Ring gear ข้อดีของ Planetary gear คือ ช่วยให้เกียร์หลายตัวกระจายน้ำหนักและรับแรงได้เท่าๆกัน จึงช่วยลดการสึกหรอจากการใช้งาน และเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีค่าความผิดพลาด หรือ Backlash ต่ำ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือ นำไปประกอบเข้ากับ servo motor สำหรับทำงานในระบบอัตโนมัติ ตัวอย่างการทำงานของ Planetary drive ตัวอย่างสินค้าประเภท planetary drive สำหรับสินค้าระบบ planetary drive ทางบริษัท เยนเนอรัล พาวเวอร์แมคคานิค จำกัด ขอนำเสนอ planetary reducer ของแบรนด์ LM หรือ Li-ming machinery ผู้ผลิตสินค้าคุณภาพเยี่ยมจากประเทศไต้หวัน การันตีคุณภาพ ด้วยประสบการณ์กว่า 55 ปี รูปแบบ model ของ Planetary gear ที่ผลิตออกมามีความหลากหลาย ครอบคลุมตอบโจทย์ทุกการใช้งาน สามารถนำมาประกอบกับ servo motor ได้ทุกยี่ห้อ Harmonic drive คืออะไร ??? Harmonic drive เป็นรูปแบบการทำงานโดยใช้ เกียร์แบบยืดหยุ่น ประกอบเข้ากับแบริ่งยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดการเสียรูปแบบควบคุมได้ ระบบจะส่งผ่านกำลังและการเคลื่อนไหวไปยังเกียร์แข็งที่อยู่รอบนอก ส่วนประกอบของ Harmonic drive จะมี 3 ส่วน หลัก ได้แก่ Wave generator, Flex spline และ Circular spline หลักการทำงานของระบบ Harmonic drive คือ เมื่อ Wave generator หมุนรอบตัว จะทำให้ชิ้นส่วน Flex spline เกิดการหมุนและเสียรูปแบบยืดหยุ่นอย่างสมมาตร และชิ้นส่วน Flex spline นี่เองจะทำหน้าที่กระจายแรงไปยังชิ้นส่วน Circular spline ที่อยู่รอบนอก ตามองศาการเคลื่อนที่ของ Wave Generator ข้อดีของ Harmonic gear คือ สามารถส่งต่อแรงบิดได้สูงมาก อีกทั้งยังมีขนาดเล็ก ตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่จำกัด นอกจากนี้แล้ว ด้วยความยืดหยุ่นของชิ้นส่วน Flex spline ยังช่วยให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ Harmonic Reducer จึงนิยมใช้งานในลักษณะของ เป็นเกียร์ขับของข้อต่อแกนในชุดแขนกล หรือ ที่เรียกว่าเป็นเกียร์สำหรับ Robot axis ตัวอย่างสินค้าประเภท Harmonic drive สำหรับสินค้าระบบ Harmonic drive ทางบริษัท เยนเนอรัล พาวเวอร์แมคคานิค จำกัด ขอนำเสนอ Robonicdrive ของแบรนด์ LM หรือ Li-ming machinery ซึ่งรูปแบบการใช้งานนอกจากใช้สำหรับ Robot axis แล้ว ทางผู้ผลิตยังมีการจัดทำหน้าแปลนสำหรับประกอบใช้งานเข้ากับ servo motor ได้อีกด้วย Cycloidal drive คืออะไร ??? Cycloidal drive เป็นระบบส่งกำลังที่อาศัยการเคลื่อนที่แบบ ไซคลอยด์ ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญหลักๆได้แก่ ชุด Cycloid disk , Ring gear และชุด Roller ทั้ง Out put roller และ Ring roller เกียร์ระบบ Cycloidal drive หรืออาจเรียกว่า Cyclo drive เป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันก็มีการพัฒนาระบบ Cycloidal อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความแม่นยำ เพื่อนำไปใช้งานในส่วนของข้อต่อแกนแขนกล หรือ นำไปประกอบกับ servo motor หลักการทำงานของ Cycloidal drive จะอาศัยการเคลื่อนที่ของ Out put shaft ซึ่งถูกประกอบเข้ากับ Cycliod disc โดยใช้การกระจายแรงระหว่าง Cycloid disc และ Ring roller และ Out put roller ข้อดีของ Cycloidal gear คือ ให้แรงบิดสูง และสามารถรองรับ shock load หรือ แรงกระชากได้มากกว่าปกติ และยังรองรับการใช้งานที่มีการเดินเครื่องเป็นระยะเวลานานอีกด้วย ตัวอย่างสินค้าประเภท Cycloidal drive สำหรับสินค้าระบบ Cycloidal drive ทางบริษัท เยนเนอรัล พาวเวอร์แมคคานิค จำกัด ขอนำเสนอ Cykodrive ของแบรนด์ LM หรือ Li-ming machinery ผู้ผลิตสินค้าคุณภาพเยี่ยมจากประเทศไต้หวัน การันตีคุณภาพ ด้วยประสบการณ์กว่า 55 ปี     ซึ่งรูปแบบการใช้งานมีทั้งรูปแบบที่ผลิตมาสำหรับนำไปประกอบกับ servo motor หรือรูปแบบที่ในไปใช้กับ Robot axis โดยมีความพิเศษที่มีการผสมผสานการทำงานระหว่างระบบ Cycloidal และระบบ Planetary เข้าด้วย ทำให้ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของ ความแข็งแรงทนทาน และความแม่นยำ ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ???          เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงมีความเข้าใจในระบบเกียร์ แบบ Planetary , Harmonic และ Cycloidal ได้มากขึ้น หากท่านผู้อ่านต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสินค้า สามารถ กดดาวน์โหลด แคตตาล็อค ในหน้าเวปไซต์ได้เลย หรือ ติดต่อเข้ามายังฝ่ายขายเพื่อสอบถามข้อมูลสินค้าและให้เราช่วยเลือกสินค้าที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ พวกเรา GPM พร้อมเป็นที่ปรึกษา ช่วยเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่า คุณจะได้รับสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแน่นอน หากมีความสนใจในสินค้า โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "การเลือกใช้เบรคไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์"

    สำหรับหัวข้อในวันนี้พวกเรา GPM ขอนำเสนอการอุปกรณ์อีกชนิดที่มักใช้งานคู่กับมอเตอร์ นั่นก็คือเบรค นั่นเอง โดยในวันนี้เราจะนำเสนอการทำงานและวิธีการเลือกเบรคไฟฟ้าสำหรับจับคู่กับมอเตอร์ ใช้งานยังไง เลือกแบบไหน ให้เหมาะกับงานของคุณ เราไปรับชมกันเลยครับ เบรคไฟฟ้า (electromagnetic brake) คืออะไร ??? เบรคไฟฟ้า หรือ electromagnetic brake คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชะลอความเร็วหรือหยุดการหมุนของชิ้นงาน อาศัยหลักการทำงานโดยการจ่ายไฟเข้าไปยังขดลวดของเบรค (Coil) เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กนี้จะเกิดแรงดูดระหว่าง Brake Magnet และ Armature plate โดยในชิ้นส่วนของ Brake magnet จะมีผ้าเบรคที่ให้แรงเสียดทาน(Friction material) เมื่อ Armature plate ถูกแรงแม่เหล็กดูดลงมาประกบจะทำให้เกิดการล็อคเป็นการหยุดการหมุนของชิ้นงาน รูปตัวอย่างการทำงานของเบรค รูปแบบการทำงานของเบรค(NC/NO) รูปแบบการทำงานของเบรคจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ ปกติปิด หรือ Normally Close และแบบปกติเปิดหรือ Normally Open โดยมีความเหมาะสมกับการใช้งานต่างกันออกไป เบรคแบบ NC เบรคแบบ NC หรือเรียกอีกอย่างว่า Fail safe brake จะเป็นเบรคที่จะมีการล็อคตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสภาวะไม่มีไฟเลี้ยง และจะปลดล็อคก็ต่อเมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปยังขดลวด เบรคลักษณะนี้ถ้าต้องการให้ต้นกำลังทำงานเป็นระยะเวลานานๆ จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี้ยงตัวเบรคไว้ตลอดเวลาเพื่อให้อยู่ในสภาวะปลดล็อค ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนที่ตัวอุปกรณ์ ดังนั้นอุปกรณ์นี้จึงเหมาะกับงานที่มีการเดินต้นกำลังเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรืองานที่ต้องการให้ล็อคต้นกำลังเมื่อดับไฟ เบรคแบบ NO เบรคแบบ NO เป็นเบรคประเภทที่อยู่ในสภาวะปลดล็อคเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และ เมื่อทำการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าไปยัง coil จะเกิดสภาวะล็อค เบรคลักษณะนี้จะจ่ายไฟก็ต่อเมื่อต้องการให้ต้นกำลังถูกหยุดไม่จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี้ยงเบรคไว้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเหมาะกับงานที่มีการเดินต้นกำลังเป็นระยะเวลานาน และงานที่ไม่จำเป็นต้องล็อคต้นกำลังเมื่อดับไฟ ชุดเบรคและคลัช เป็นชุดอุปกรณ์ที่มีเบรคและคลัชในตัว โดยชุดเบรคจะเป็นแบบ NO อุปกรณ์ชิ้นนี้จะเหมาะสมกับงานที่ต้องการเบรคชิ้นงานโดยไม่ต้องการหยุดต้นกำลัง โดยเมื่ออยู่ในสภาวะต้องการให้ชิ้นงานทำงาน คลัชจะจับทำให้ต้นกำลังสามารถขับชิ้นงานได้ และเมื่อต้องการให้ชิ้นงานหยุดการทำงาน คลัชจะปล่อย ทำให้ต้นกำลังอยู่ในสภาวะตัดขาดจากชิ้นงาน และเบรคจะอยู่ในสภาวะล็อคเพื่อหยุดชิ้นงาน โดยเมื่อต้องการให้กลับมาทำงาน เบรคจะปลดล็อค และคลัชจะอยู่ในสภาวะจับกับต้นกำลัง เพื่อขับชิ้นงานตามเดิม อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยลดปัญหาการกินกระแสเมื่อมีการสตาร์ทมอเตอร์ได้ ตัวอย่างการประกอบเข้ากับมอเตอร์ รูปแบบการจ่ายไฟเลี้ยงเข้าเบรคไฟฟ้า(AC/DC) Electromagnetic Brake มีทั้งรูปแบบทำงานโดยใช้ไฟ AC และ DC โดยหากเป็นเบรค AC ผู้ใช้งานสามารถต่อไปเลี้ยง 380VAC เข้าที่เบรคได้เลย แต่หากเป็นเบรค DC ผู้ใช้งานจำเป็นต้องต่อเบรคผ่านอุปกรณ์ Rectifier ก่อน โดย rectifier (ตัวจัดเรียงกระแส) จะเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ภาพตัวอย่างอุปกรณ์ Rectifier โดยเมื่อใช้งาน ผู้ใช้งานต้องเลือก Rectifier โดยอ้างอิงจาก รุ่นของเบรค (24VDC,90VDC,190VDC) และแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายในพื้นที่ใช้งาน (220VAC,380VAC) การเลือกขนาดของเบรคสำหรับใช้งาน ในการเลือกเลือกขนาดเบรคสำหรับใช้งานติดกับมอเตอร์นั้นให้คำนึงปัจจัยสำคัญ คือ แรงบิดของมอเตอร์ (Torque) โดยแรงบิดของมอเตอร์ให้อ้างอิงจากตารางแสดงรายละเอียดของมอเตอร์ Induction เพราะตัวเบรคจะทำหน้าที่ล็อคเพลาของมอเตอร์จากด้านท้ายของมอเตอร์ เมื่อทราบค่าแรงบิดของมอเตอร์แล้วให้นำ Load ทั้งหมด คูณด้วย 2-3 เพื่อเป็น Safety factor ตัวอย่างตารางแสดงการเลือกขนาดของเบรค โดยเปรียบเทียบกับ ขนาดกำลังของมอเตอร์และความเร็วรอบการหมุนของมอเตอร์ ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ??? เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงมีความเข้าใจในการเลือกซื้อเบรคมากขึ้น โดยท่านผู้อ่านสามารถเลือกพิจารณา สเปคสินค้าของเบรคได้ผ่านหน้าเวปไซต์นี้ได้เลย โดยสินค้าประเภทเบรคไฟฟ้าที่ทางพวกเราบริษัทเยนเนอรัลฯ นำเข้ามาจัดจำหน่าย เป็นของแบรนด์ Trantex ผู้ผลิตคลัชและเบรคคุณภาพดีจากประเทศไต้หวัน ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง Inbox เข้ามาหาพวกเราได้เลยครับ หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "IE Class, IP Code, Ins Class ของมอเตอร์คืออะไร ???"

    ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ที่เราได้นำเสนอ รายละเอียดและความหมายบนป้ายเนมเพลทของมอเตอร์ แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ซึ่งพวกเราไม่ได้เขียนไว้ในบทความก่อน เพราะเกรงว่าบทความจะมีรายละเอียดที่มากเกินไป ในวันนี้พวกเรา GPM ขอมานำเสนอรายละเอียดของมอเตอร์ในหัวข้อของ IE Class , IP Code และ Ins Class ซึ่งเป็นอีก 1 ปัจจัยที่จะช่วยให้คุณเลือกใช้งานมอเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลักษณะหน้างานของคุณ หากพร้อมแล้ว พวกเรา GPM ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ IE Class , IP Code และ Ins Class ไปด้วยกันครับ IE Class คืออะไร ??? IE Class คือ ระดับประสิทธิภาพของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC โดยคำนวณจาก อัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าต่อกำลังขับมอเตอร์ โดยยิ่งมอเตอร์มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีการสูญเสียพลังงานน้อยลง นั่นหมายความว่า ยิ่งมอเตอร์มีระดับ IE Class สูง ก็จะยิ่งประหยัดไฟ ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟลดลงนั่นเอง หากพิจารณาตามกราฟข้างต้นจะพบว่า class ที่สูงขึ้นของมอเตอร์จะส่งผลต่อ efficiency อย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการใช้พลังงานไฟฟ้า และต้นทุนของค่าไฟอีกด้วย IE1 คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับมาตรฐานสากล โดยผลิตขึ้นตามมารตรฐาน IEC นับเป็น class ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในอุตสาหกรรม IE2 คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับสูง ตามมาตรฐาน IEC หรือ อาจเรียกว่า มอเตอร์ประหยัดพลังงาน นิยมใช้งานที่มีการเดินเครื่องจักรต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะใช้พลังงานน้อยกว่า มอเตอร์ IE1 IE3 คือ มอเตอร์ประสิทธิภาพระดับพรีเมียม ซึ่งมี efficiency สูงมากกว่า IE1 และ IE2 มักใช้ในงานในลักษณะดูแลสิ่งแวดล้อม อาทิ โรงบำบัดน้ำเสีย IE4 คือ มอเตอร์ระดับประสิทธิภาพสูงสุด ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้าสูง หรือ ต้องเดินเครื่องเป็นระยะเวลานาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีราคาที่สูงกว่า และ หาได้ยากกว่ามอเตอร์ IE3 IE5 ถือเป็นระดับสูงสุดในปัจจุบันของมาตรฐานประสิทธิภาพ โดย efficiency สูงที่สุด และ ประหยัดพลังงานได้มากที่สุด IP Code คืออะไร ??? IP Code ย่อมาจาก Ingress Protection code ซึ่งก็คือ มาตรฐานระดับการป้องกันฝุ่นและละอองน้ำของเครื่องจักร โดย Code จะระบุโดยตัวเลข 2 หลัง โดย หลักแรกคือระดับการป้องกันของแข็ง มีตั้งแต่ 0-6 ระดับ และ หลักที่สอง จะบอกถึงการป้องกันของเหลวโดยมีตั้งแต่ 0-9 ระดับ ระดับการป้องกันของแข็งตั้งแต่ ระดับ 0-6 จะแสดงรายระเอียดดังตารางต่อไปนี้ Solid Protection Rating ระดับการป้องกันของเหลวตั้งแต่ระดับ 0-9 จะแสดงรายละเอียดตามตารางดังนี้ Liquid Protection Rating Ins Class คืออะไร ??? Ins Class ย่อมาจาก Insulation Class หรือก็คือ ระดับฉนวนกันความร้อนของมอเตอร์ โดยจะบ่งบอกถึงค่าอุณหภูมิที่แผ่นฉนวนกันความร้อนที่ขั่นระหว่างขดลวดของมอเตอร์สามารถทนได้ โดยมีทั้งหมด 7 ระดับดังนี้ ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ??? เชื่อว่าเมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วคงช่วยให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจในระดับของ class ต่างๆ ของมอเตอร์ได้ดีขึ้น เมื่อต้องดำเนินการสั่งซื้อ ให้พิจารณาถึงลักษณะงานและสภาพแวดล้อมหน้างาน โดยพิจารณาระดับของ IE Class ,IP Code และ Ins Class ตามรายละเอียดข้างต้น ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง Inbox เข้ามาหาพวกเราได้เลยครับ หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "รหัสบนป้ายมอเตอร์ บ่งบอกถึงอะไรบ้าง"

    เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านต้องเคยพบปัญหา ในการจัดหาสินค้าทดแทน หรือ เลือกสเป็ค สินค้ามาใช้สำหรับงานต่างๆ แต่เมื่อได้อ่านรหัสสินค้าบนป้ายเนมเพลท แล้วเกิดความสงสัยว่ารหัสเหล่านี้บ่งบอกถึงอะไรบ้าง เมื่อไม่เข้าใจในรหัสที่ตอกอยู่บนป้าย ก็จะเกิดความกังวลเมื่อต้องทำการสั่งซื้อ หรือ เมื่อต้องตรวจรับสินค้า กังวลว่าจะได้สินค้าไม่ตรงตามเสป็ค ที่ต้องการใช้งาน วันนี้พวกเรา GPM จะมานำเสนอวิธีการอ่านรหัส โค้ดสินค้าบนป้าย เนมเพลท ซึ่งเชื่อว่าเมื่ออ่านจบแล้วจะต้องช่วยให้ทุกคนมีความเข้าใจและมั่นใจเมื่อต้องเลือกสินค้ามากขึ้นอย่างแน่นอน ป้ายเนมเพลท (Name Plate) คืออะไร? ป้ายเนมเพลท (Name Plate) คือป้ายที่บ่งบอกถึง รายละเอียด คุณสมบัติ ลักษณะ วิธีการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ โดยส่วนมากจะทำจากวัสดุโลหะ เช่น แสตนเลส หรือ ในบางครั้งอาจเป็น สติ้กเกอร์พิมพ์แบบพิเศษที่มีความเหนียวและทนทาน โดยทั่วไปแล้ว รายละเอียดบน เนมเพลทของมอเตอร์ จะบอกข้อมูลของจำนวณแรงม้า(HP) หรือ กำลังของมอเตอร์ (KW) , ความเร็วรอบในหน่วย RPM (Round per minute) , จำนวณขดลวด Pole, แรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน, มาตรฐานประสิทธิ์ภาพของมอเตอร์ IEC, มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ หรือ IP และรายละเอียดอื่นๆที่จำเป็นต่อการใช้งาน ตัวอย่างการอ่านป้ายเนมเพลทของมอเตอร์ ที่ป้ายเนมเพลทของมอเตอร์จะแสดงรายละเอียดที่จำเป็นต่อผู้ใช้งานไว้อย่างครบถ้วน โดยยกตัวอย่าง ป้ายของ motor induction ของแบรนด์ MCN จะแสดงรายละเอียดดังนี้ แบรนด์/ยี่ห้อ : บ่งบอกถึงยี่ห้อสินค้า หรือ ผู้ผลิต HP/KW : จำนวณแรงม้า/กำลังของมอเตอร์ ในตัวอย่างมีการระบุถึงรูปแบบการติดตั้งด้วย VOLTS : แรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน โดยในประเทศไทยจะเป็น 220/380 AC หรือ 440/660 VAC POLE : จำนวณขดลวดของมอเตอร์ โดยมีตั้งแต่ 2-8 pole Hz : ความถี่ของไฟฟ้า input โดยในประเทศไทยจะเป็น 50 Hz. AMP'S : คือ ค่ากระแสของมอเตอร์ (I) หรือ load ทางไฟฟ้า RPM : คือความเร็วรอบของมอเตอร์ หน่วยเป็น รอบต่อนาที WEIGHTS : น้ำหนักของมอเตอร์ FRAME : ขนาดเฟรมไซส์ของมอเตอร์ INS.CLASS : Insulation class คือ ค่าอุณหภูมิที่แผ่นฉนวนของมอเตอร์สามารถทนได้ IE CODE : คือ ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์ IP CLASS : คือ มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ (ข้อมูลบนป้ายเนมเพลทมอเตอร์อย่าง INS.CLASS, IE CODE และ IP CLASS ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ทาง GPM จึงอยากขอยกหัวข้อเหล่านี้ไปอธิบายในบทความอื่น เพื่อที่จะได้อธิบายถึง หัวข้อเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ และ ไม่ทำให้บทความของเรายาวเกินไป ) ตัวอย่างการอ่านป้ายเนมเพลทของมอเตอร์เกียร์ สำหรับสินค้าประเภทมอเตอร์เกียร์นั้นจะมีรายละเอียดเพิ่มเติม คือ อัตราทด ของเกียร์ที่ติดอยู่ โดยในแต่ละยี่ห้ออาจจะมีความแตกต่างของรหัสสินค้าต่างกันออกไป โดยทาง GPM ขอยกตัวอย่างป้าย เนมเพลท ของมอเตอร์เกียร์ MCN มาให้ทุกท่านได้ลองชม รหัสของ มอเตอร์เกียร์ MCN จะถูกแบ่งออกเป็น 8 ชุด โดยแต่ละชุดจะมีความหมายดังนี้ คือ วัสดุของเฟรมมอเตอร์เกียร์ โดยมีทั้ง เหล็กหล่อ , อลูมิเนียมหล่อ, อลูมิเนียมอัลลอย คือ รูปแบบการติดตั้ง เช่น L คือ ขาตั้ง หรือ B3 และ F คือ หน้าแปลน หรือ B5 คือ รายละเอียดซีรีย์ของมอเตอร์ตัวนั้นๆ อ้างอิงตาม chart จาก MCN คือ ขนาดเพลา out put ของเกียร์ โดยจะระบุเป็นรหัสเลข 2 หลัก คือ กำลังของมอเตอร์ (KW) โดยระบุเต็มตัวเลข 3 หลัก คือ อัตราทดของเกียร์ คือ ไฟ input ที่ใช้งาน เช่น 3 คือ ไฟฟ้า 3 เฟส 220/380 VAC คือ code ที่แสดงถึงลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะของมอเตอร์โดยอ้างอิงจาก chart MCN ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ??? เมื่อต้องการสั่งซื้อ มอเตอร์ หรือมอเตอร์เกียร์ มีข้อมูลสำคัญที่ต้องทราบดังนี้ Induction motor สิ่งที่จำเป็นต้องทราบได้แก่ HP/KW เพื่อจะระบุกำลังของมอเตอร์ที่ต้องการใช้งาน Installation type หรือ รูปแบบการติดตั้ง โดยพิจารณาจากลักษณะหน้างาน Volts โดยอ้างอิงจาก แรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายในพื้นที่หน้างานนั้นๆ RPM หรือ ความเร็วรอบใช้งาน 4 หัวข้อนี้ถือเป็น ปัจจัยหลักสำหรับการระบุสเป็คของมอเตอร์ แต่หากเป็นกรณีที่งานมีความพิเศษเฉพาะ เช่นทำงานในพื้นที่มีฝุ่นและละอองน้ำ ก็ต้องพิจารณาถึง IP class ของ มอเตอร์ด้วย หรือหากเป็นงานที่มีต้องเจอกับความร้อนก็ต้องพิจารณาถึง Ins.class ด้วยเช่นกัน Gear motor สิ่งที่จำเป็นต้องทราบได้แก่ HP/KW เพื่อจะระบุกำลังของมอเตอร์ที่ต้องการใช้งาน Installation type หรือ รูปแบบการติดตั้ง โดยพิจารณาจากลักษณะหน้างาน Ratio หรือ อัตราทด โดยอ้างอิงจากความเร็วรอบที่ต้องการใช้งาน และ แรงบิด สำหรับสินค้าของบริษัท GPM พวกเราเป็นผู้จำหน่าย มอเตอร์แบรนด์ MCN มอเตอร์คุณภาพดีจากประเทศไต้หวัน ด้วยความหลากหลายของสินค้าทั้งในกลุ่มของ motor induction และ gear motor ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "คลัชและเบรคลม (Air Clutch & Air Brake) คืออะไร ??? และเลือกใช้แบบไหนเหมาะกับงานของคุณ"

    บทความนี้พวกเรา GPM ขอนำเสนอสินค้าขายดีของเราอีก 1 รายการ นั่นก็คือ คลัชและเบรคระบบลม ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมแบบต่างๆ ในประเทศไทย และสามารถพลิกแพลงใช้งานได้หลากหลายมาก หากพร้อมแล้ว เราขอพาทุกท่านไปรู้จักอุปกรณ์ชิ้นนี้กันเลยครับ คลัชและเบรคลมคืออะไร คลัชและเบรคลม หรือที่เราเรียกกันว่า Air Clutch, Air Brake หรือ อาจเรียกว่า Pneumatic Clutch, Pneumatic Brake เป็นอุปกรณ์ประเภท คลัชและเบรคอุตสาหกรรม ที่ทำงานด้วยการจ่าย input ลม เพื่อสร้างแรงบิด (torque) คลัชลม จะทำหน้าที่ ตัด-ต่อ กำลังจาก มอเตอร์หรือเกียร์ทดรอบไปสู่ชิ้นงาน หรือ load เบรคลม จะทำหน้าที่ หยุดการหมุนของชิ้นงาน โดยความพิเศษของคลัชและเบรคลมคือสามารถปรับ เพิ่ม-ลด แรงบิด (torque) ได้ โดยการปรับแรงดันลมที่จ่ายเข้า (input) โดยผู้ใช้งานสามารถพิจารณาการปรับแรงดันได้ตามตัวอย่างกราฟดังนี้ ซึ่งด้วยความพิเศษที่สามารถปรับ เพิ่ม-ลด แรงบิดได้นี่เอง จึงสามาถใช้ควบคุมการหมุนในลักษณะปรับความตึงของงานได้ด้วยจึงเหมาะกับงานที่มีแรงดึงของชิ้นงานสูง ประเภทและรุ่นของคลัชและเบรคลม คลัชและเบรคลม ที่ทางเรามีจัดจำหน่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ แบบ Shaft lock และแบบ Caliper ในส่วนของรุ่นและประเภทของคลัชเบรคลม ที่ทางเรามีจำหน่ายจะมีรายการดังนี้ คลัชและเบรคลมแบบ Shaft Lock Shaft mounted Air Clutch สำหรับคลัชลม เรามีเป็นประเภท Shaft mounted ใน Model NAC Flange mounted Air Brake เบรคลมแบบ flange mounted หรือ หน้าแปลน Model NAB โดยมี shaft lock 2 แบบให้เลือกใช้งานได้แก่ แบบ Keyway และ แบบ Clamp เบรคลมแบบ Caliper เบรคลมแบบ caliper เป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในลักษณะงานที่ใช้เบรคจับกับ Disc ของชิ้นงาน โดยทาง GPM ได้นำเข้ามาจำหน่ายมากถึง 5 แบบ และยังมี Caliper Brake ระบบ Hydraulic สำหรับงานที่ต้องการใช้แรงเบรคสูงให้เลือกอีกด้วย Airtek Caliper Brake Model DBG,DBH Caliper Brake แบบมีหม้อลม ให้แรงเบรคที่สูง ในระยะ 8-108 kgfm เหมาะสำหรับงานม้วนที่มีแรงดึงจากชิ้นงานมากหรืองานที่ load มีน้ำหนักสูง รองรับ Disc ที่ความหนา 10 mm และ Disc OD มากกว่า 200 mm (ภาพตัวอย่าง NIIKA DBG และ NIIKA DBH ตามลำดับ) Airtek Caliper Brake Model DBF,DBZ Caliper Air Brake ขนาดเล็ก ให้แรงเบรคตั้งแต่ 2-20 kgfm สำหรับ DBF รองรับ Disc ที่ความหนา 10 mm OD Disc ตั้งแต่ 220 mm ขึ้นไป และสำหรับรุ่น DBZ ให้แรงแบรคที่ 2-22 kgfm ใช้กับ Disc ที่ความหนา 6 mm และ 10 mm และสำหรับรุ่น DBZ มีทั้งแบบ Air และแบบ manual ปรับค่าได้โดยการใช้ลูกบิดหมุน (ภาพตัวอย่าง NIIKA DBF และ NIIKA DBZ ตามลำดับ) Hydraulic/Pneumatic Caliper Brake Model DBM เบรคระบบให้ Hydraulic ให้แรงเบรคสูงกว่า 120 kgfm รองรับ Disc ที่ความหนา 10 mm และ 20 mm คลัชและเบรคลมเหมาะกับงานแบบไหน ด้วยข้อดีที่สามารถปรับ เพิ่ม-ลด แรงเบรคได้ จึงเหมาะกับงานที่ต้องควบคุมการหมุนโดยปรับความตึงชิ้นงานต่างๆ อาทิ การพันม้วนฟิล์ม การพันสายเคเบิ้ลและสายไฟ หรือใช้งานในเครื่องจักรสำหรับผลิตกระดาษและสติ๊กเกอร์ นอกจากนี้คลัชและเบรคลมยังมีข้อดีคือ ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ จึงช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้เป็นเบรคสำหรับติดมอเตอร์ที่ทำงานแล้วมีการเบรคบ่อย ช่วยแก้ไขปัญหาเบรคไหม้ได้ ทางเราได้รวบรวมตัวอย่างการใช้งานในอุตสหกรรมแบบต่างๆมาให้ทุกท่านได้รับชมกันครับ ตัวอย่างการใช้งาน เบรคลม NIIKA DBH ในเครื่องจักรผลิตกระดาษ ตัวอย่างการใช้ คลัชลม NIIKA NAC และ Powder Brake NIIKA POB ในเครื่อง Coating ตัวอย่างการใช้งาน เบรคลม NIIKA DBG และ DBH รวมถึง Hydraulic Caliper NIIKA DBM ในกระบวนการตัดแผ่นโลหะ สำหรับอุตสาหกรรมกลุ่มขึ้นรูปโลหะ ตัวอย่างการใช้งาน NIIKA DBH และ NIIKA DBG ในเครื่องแปรรูปเหล็กม้วน Leveling Machine ตัวอย่างการใช้งาน เบรคลม NIIKA NAB , DBZ และ คลัชลม NIIKA NAC รวมถึง Hydraulic Caliper NIIKA DBM ในเครื่องขึ้นรูปยาง สำหรับอุตสาหกรรมยาง ติดต่อสั่งซื้ออย่างไร ??? พวกเรา GPM เป็นผู้นำเข้าคลัชและเบรคลมของแบรนด์ NIIKA ผู้ผลิตคลัชและเบรคระบบ pneumatic คุณภาพสูงจากประเทศไต้หวัน ซึ่งทางเราได้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ NIIKA มาตั้งแต่ปี 2006 เป็นระยะเวลากว่า 18 ปี ผู้ใช้สามารถเลือกดูรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านช่องทางรายการสินค้าของ website นี้ หรือกด download catalog ได้เลย หรือหากต้องการให้เราช่วยวิเคราะห์งานของคุณ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา "ทุกความต้องการของคุณ ให้ GPM เป็นทางออก"

  • "3 เหตุผลที่ทำให้ GPM คือตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ"

    พวกเรามีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำ ในการเลือกใช้สินค้าให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ของกลุ่ม อุตสาหกรรม ทุกกลุ่ม ทั้งการประยุกต์ ใช้ และการปรับปรุงการใช้งานเดิม ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการผลิต และตอบโจทย์ ความความต้องการของลูกค้า อย่างครบถ้วน สินค้าหลากหลายเพื่อความพึงพอใจของคุณ พวกเรามีสินค้าหลากหลายประเภทตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ไม่ว่าคุณจะต้องการ ยอยตัวเล็กๆ หรือ มอเตอร์ขนาดใหญ่ เราก็มีพร้อมบริการให้คุณ สินค้าของเราแบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มอุปกรณ์ Power Transmission อันประกอบไปด้วย Small gear motor, Gear motor, Worm Gear Reducer กลุ่ม Industrial Clutch and Brake ซึ่งมีทั้งระบบ Air Clutch, Air Brake, Electro magnetic Clutch, Electro magnetic Brake, Powder Clutch, Powder Brake และแน่นอนว่าสำหรับผู้ใช้งาน Powder Clutch และ Powder Brake ทางเรามี ผงแม่เหล็ก จำหน่ายเช่นกัน นอกจากนี้ กลุ่มอุปกรณ์ข้อต่อแกนแบบต่างๆ เราก็มีจำหน่ายอย่างครบครัน ทั้ง ยอย coupling หรือ ข้อต่อแกน safety อย่าง Torque limiter และสินค้ากลุ่มสุดท้าย ซึ่งพิเศษที่สุดสำหรับลูกค้าที่ต้องการเกียร์ความแม่นยำสูง พวกเรามีสินค้าที่ตามโจทย์ความต้องการของคุณไม่ว่าจะเป็น Planetary gear, Servo Gear, Index Gear บริการครบวงจร พร้อมสนับสนุนทุกความต้องการของคุณ เรามีทีมงานมืออาชีพที่พร้อมช่วยเหลือคุณในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยในการเลือกสินค้า หรือช่วยคำนวณ load และ spec สำหรับงานของคุณ และถ้าคุณต้องการให้เราไปตรวจสอบที่ site งานของคุณ เราก็พร้อมที่จะช่วยเช่นกัน บริการของเราครอบคลุมถึงการ ดัดแปลงแก้ไขและ modify เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของคุณ นอกจากนี้สำหรับลูกค้าที่ออกแบบเครื่องจักร ทางเรายังมีแบบ 3D CAD เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณออกแบบระบบได้ง่ายขึ้น หรือหากต้องการให้เราช่วยออกแบบระบบของคุณ ทางเราก็มีทีมงาน Machine Design พร้อมบริการ เราเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ มั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้รับสินค้าคุณภาพดีในราคาที่คุ้มค่า สินค้าที่เรานำเข้ามาจำหน่ายล้วนแต่เป็นสินค้าคุณภาพเยี่ยมจากประเทศไต้หวัน ผลิตโดยผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญในระบบ Power Transmission ด้วยประสบการณ์กว่า 40 ปี คุณภาพสินค้าเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ไม่ว่าคุณต้องการอะไร ขอให้มั่นใจได้เลยว่า เราจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณแน่นอน

General Power Mechanic

หมวดหมู่สินค้า

Servo Gear

Gear Motor

Index Gear

Small Gear Motor

Gear Reducer

Flexible Coupling

Torque Limiter

Air Shaft

Safety Chuck

Edge Guide Controller

Air Clutch & Brake

Powder Clutch & Brake

แบรนด์สินค้า

Electro Magnetic Clutch & Brake

ติดต่อเรา

  • Line
  • Black Facebook Icon

© 2024 General Power Mechanic All Rights Reserved

bottom of page